ปรับปรุง : 2558-07-11 (เพิ่มการทดสอบ) |
หน้าหลัก : ความหมาย : ประเภท : รวบรวมข้อมูล |
ความหมาย
| การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9] การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับ ชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3] การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม ? นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย |
ประเภท
| การวิจัยและพัฒนา (อ้างอิง : nrct.net 2006-02-11) คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ จำแนกได้ 3 ประเภท 1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง 3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น หนังสืออ้างอิง - ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ, นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี, 2533 |
ทฤษฎี
| ทฤษฎี คืออะไร (แหล่งอ้างอิง : /theory # ) คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คำนิยาม และองค์ประกอบที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบ และทดลองหลายครั้งหลายหน จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น |
ในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขั้นตอนโดยทั่วไป 1. พิจารณากำหนดประเด็นที่สนใจ 2. ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. ได้หัวข้อและวัตถุประสงค์ 4. เขียนเค้าโครง กำหนดประชากร วิธีการ เครื่องมือ กรอกแนวคิด และเขียนข้อเสนอโครงการ 5. สอบป้องกันเค้าโครง (ต้องผ่านการอนุมัติจาก อาจารย์ที่ปรึกษา) 6. สอบต่อคณะกรรมการ ถ้าไม่ผ่านไปทำข้อ 1 ใหม่ 7. ดำเนินการเก็บข้อมูล และประมวลผล 8. เขียนผลการดำเนินงาน สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 9. สอบป้องกัน (ต้องผ่านการอนุมัติจาก อาจารย์ที่ปรึกษา) 10. สอบต่อคณะกรรมการ ถ้าไม่ผ่านไปทำข้อ 1 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี + research.pptx |
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทางด้านบริหารธุรกิจ |
|
รวบรวมข้อมูล |
|
ต.ย. หัวข้องานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรณีนี้ เป็นเอกสารที่จำลองขึ้นมาว่า .. มีโอกาสได้สื่อสารกับนักศึกษา เรื่องการเตรียมเอกสารนำเสนอหัวข้อ หรือสอบป้องกันหัวข้อ สำหรับ 3 บทแรก ในกลุ่มนักศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบก็ต้องผ่านการพิจารณาซักซ้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน ในการพิจารณาหลายครั้งนั้น ก็จะมีการให้ข้อเสนอแนะปรับแก้ และติดตามให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ได้เอกสารสื่อออกมาได้ตรงกับที่ตั้งใจ ซึ่งรายละเอียดที่ใช้ในแต่ละสถาบัน แต่ละหลักสูตรก็จะมีการกำกับดูแล มีตัวแบบ ขั้นตอน หรือเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันไป |
|
ค่า IOC เพื่อวัดความสอดคล้อง เที่ยงตรง (Validity) มีโอกาสร่วมฟังการสอบ IS ของนักศึกษา โดยมี ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว ได้กำชับให้นักศึกษาทำการวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามมาด้วย จึงรวบรวมข้อมูล แล้วแบ่งปันไว้ดังนี้ การวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึง การวัดว่าผู้วิจัยออกแบบสอบถามได้ตรงตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในการทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาสามารถดำเนินการได้โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มาช่วยพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแบบสอบถาม โดยพิจารณาเป็นรายข้อคำถาม วิธีการพิจารณาแบบนี้จะเรียกว่า การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Item – Objective Congruence) หมายถึง ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ มีค่า ระหว่าง 1.00 ถึง –1.00 ซึ่งข้อคำถามที่มีความตรงตามวัตถุประสงค์จะมีค่า IOC เข้าใกล้ 1.00 ถ้าข้อคำถามใดมีค่า IOC น้อยกว่า 0.5 ก็ควรปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์ที่ต้องการวัด เกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) ของผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้ คะแนนเท่ากับ +1 หมายถึง แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คะแนนเท่ากับ 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คะแนนเท่ากับ -1 หมายถึง ไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กรณีคะแนนเป็น -1 (ไม่มีความสอดคล้อง) ขอความอนุเคราะห์ให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพื่อพัฒนาในข้อนั้น
|
ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิธีหนึ่ง คือ การใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's coefficient of alpha) เหมาะกับข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องที่เป็น rating scale เรียกว่าการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Coefficient alpha) โดยใช้ค่าความแปรปรวนของข้อมูลมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งค่าที่ได้ควรมากกว่า 0.6 แสดงว่ามีค่าความเชื่อมั่นสูง จึงจะยอมรับได้ ซึ่งมักเขียนไว้ในบทที่ 3 ของรายงานการวิจัย 5 บท ขั้นตอนการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า 1. ออกแบบสอบถาม 2. นำแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คนลองทำ 3. นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าในภาพรวม ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าเชื่อมั่นได้ เหมาะกับคำถามที่เชื่อว่าคนตอบ จะตอบไปทางเดียวกัน หากตอบไปคนละทิศละทาง แสดงว่าเชื่อมั่นไม่ได้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546 : 449 - 450) ตาราง excel สำหรับช่วยคำนวณค่า Cronbach's coefficient of alpha http://www.thaiall.com/research/cronbach.xlsx + http://drpisutta.arreerard.com + http://www.udru.ac.th + http://www.svc.ac.th + http://www.rtafa.ac.th |
+ ผู้สนับสนุน + รับผู้สนับสนุน |
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น