วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ประเภทของการวิจัย

การวิจัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี
การวิจัย (อังกฤษ: research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้ อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและ คุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการ บางสาขาอีกด้วย


การวิจัยขั้นพื้นฐาน

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยขั้นพื้นฐานคือการสร้างความก้าวหน้าในความ รู้และความเข้าใจเชิงทฤษฎีของสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต่าง ๆ (ดูสถิติ) ด้วยการบุกเบิกที่เกิดจากการผลักดันของความอยากรู้อยากเห็น, ความสนใจ และการรู้เองของ ตัวผู้วิจัยเอง เป็นการดำเนินการที่ยังไม่มีการคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ไว้ล่วงหน้าแม้ ว่าในระหว่างการวิจัยจะมีการส่อว่าอาจนำผลไปประยุกต์เชิงปฏิบัติได้ก็ตาม คำว่า “พื้นฐาน” เป็นการบ่งชี้ว่าการวิจัยขั้นพื้นฐานเป็นการวางรากฐานให้เกิดการก้าวไปข้าง หน้าด้วยการสร้างทฤษฎีที่บางครั้งอาจนำไปประยุกต์ในเชิงปฏิบัติได้ เนื่องจากการที่ไม่อาจประกันได้ว่าการวิจัยจะมีประโยชน์เชิงปฏิบัติได้ใน ระยะสั้นได้นี้เองที่ทำให้นักวิจัยขั้นพื้นฐานหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนได้ ยากกว่าการวิจัยแบบอื่น
ตัวอย่างคำถามที่เกี่ยวกับการวิจัยขั้นพื้นฐาน:
โดยประเพณีแล้ว การวิจัยขั้นพื้นฐานถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะต้องมาก่อนการวิจัยประยุกต์ ซึ่งก็เช่นกันที่จะต้องเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนการพัฒนาสู่ขั้นการนำไป ใช้งาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ การตัดขาดกันอย่างชัดเจนดังกล่าวนี้มีน้อยลงกลายเป็นการผสมผสานระหว่างกัน มากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของเทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง การค้นพบพื้นฐานอาจทำขนานกันไปได้กับงานที่มุ่งให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ และ ในภาคส่วนของการร่วมมือกันระหว่างรัฐและภาคเอกชนที่ช่วยกันค้นลึกละเอียดลง ไปในบางสิ่งที่มีความสำคัญและน่าสนใจ

กระบวนการวิจัย

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โดยทั่วไป เป็นที่เข้าใจกันว่าการวิจัยคือการกระทำตามกระบวนการที่มีโครงสร้างเฉพาะอัน ใดอันหนึ่ง แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความผันแปรแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหางานและตามนักวิจัย อยู่บ้างก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:
ความเข้าใจผิดทั่ว ๆ ไปที่มักเกิดขึ้นได้แก่การคิดหรือการถือว่าได้พิสูจน์หรือได้ทดสอบสมมุติฐาน ไปแล้วด้วยกรรมวิธีนี้ แต่ที่จริงแล้ว โดยทั่วไปแล้วเราใช้สมมุติฐานตัวที่เราคาดว่าอาจจะใช้ได้เพื่อการสังเกตผล ที่จะได้จากการทดลอง แต่ถ้าผลการทดลองออกมาไม่คงเส้นคงวาตามสมมุติฐานก็จะต้องล้มเลิกสมมุติฐาน นั้นไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผลที่ออกมามีความคงเส้นคงวาตามสมมุติฐานจึงจะถือได้ว่าการทดลองนั้นสนับ สนุนสมมุติฐาน การที่ใช้ภาษาอย่างระมัดระวังดังกล่าวนี้ก็เนื่องมาจากนักวิจัยทราบกันดีว่า สมมุติฐานทางเลือกหลาย ๆ สมมุติฐานที่อาจมีความคงเส้นคงวากับผลการสังเกตได้ ยังไม่อาจได้ถือว่าเป็นการพิสูจน์สมมติฐานได้แล้ว เป็นได้แต่เพียงการสนับสนุนการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของในแต่ละครั้งที่มัก ชวนให้คิดว่าเป็นจริง ซึ่งก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพิสูจน์ได้แล้วเช่นกัน สมมุติฐานที่มีประโยชน์จะช่วยให้นักวิจัยสามารถรับรองผลการคาดการณ์ได้จาก ความแม่นยำของการสังเกตเฉพาะคราวของการทดลองนั้น ๆ ในขณะที่ความแม่นยำของการสังเกตดีขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ตัวสมมุติฐานเดิมจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยให้เกิดความแม่นยำได้อีกต่อไป ในกรณีเช่นนี้ สมมุติฐานใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาท้าทายสมมุติฐานเดิมต่อไปอีก สมมุติฐานใหม่ที่ทำให้การคาดการณ์แม่นยำขึ้นนี้ก็จะกลายเป็นสมมุติฐานที่มา แทนที่

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

กรรมวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ประกอบ ด้วยเทคนิคและแนวทางที่นักประวัติศาสตร์ใช้แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และ หลักฐานอื่นมาใช้เพื่อวิจัย แล้วจึงจะเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมา มีแนวทางหลายแนวที่นักประวัติศาสตร์นำมาใช้ในการทำงานภายใต้หัวข้อ “คำวิจารณ์ภายนอก”, “คำวิจารณ์ภายใน”, และ “การสังเคราะห์” สิ่งเหล่านี้รวมถึง “คำวิจารณ์ขั้นสูง” (higher criticism) และ “การวิจารณ์ตัวบท” (textual criticism) ถึงแม้ว่าบางรายการมีความแปรผันต่างกันไปตามเนื้อเรื่องและตามตัวนักวิจัยก็ ตาม แต่โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมดจะมีรูปแบบดังนี้:
  • การบ่งชี้วันเวลาดั้งเดิม
  • หลักฐานของสถานที่
  • การยอมรับและรับรองผู้แต่ง
  • การวิเคราะห์ข้อมูล
  • การบ่งชี้ถึงความซื่อสัตย์สุจริต (integrity)
  • แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

ระเบียบวิธีวิจัย

เป้าหมายการวิจัย

เป้าหมายของการวิจัยได้แก่การสร้างความรู้ใหม่ซึ่งมี 3 รูปแบบ (ขอบเขตระหว่างรูปแบบยังคงมีความคลุมเครืออยู่ดังได้กล่าวมาแล้ว)

ประเภทของการวิจัย

การวิจัยอาจแบ่งออกได้ประเภทที่ชัดเจนได้ 2 ประเภทคือ

ระเบียบวิธีวิจัยที่มีการใช้

ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้โดยนักวิชาการทั่วไปรวมถึง:
การวิจัยโดยทั่วไปมักใช้รูปแบบการทำงานคล้ายรูปร่างของนาฬิกาทราย[1] แบบจำลองนาฬิกาทรายเริ่มด้วยการวิจัยที่มีสเปกตรัมที่กว้างแล้วบีบให้แคบลง เน้นจุดที่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเพื่อการใช้โดยผ่านระเบียบวิธีการของ โครงการวิจัย แล้วจึงขยายการวิจัยให้กว้างขึ้นใหม่ในรูปของการถกเถียงและผลที่ได้ออกมา

การตีพิมพ์

การตีพิมพ์ทางวิชาการ หมายถึงระบบที่ถือกันว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องให้นักวิชาการผู้มีความรู้เสมอกันทำการทบทวนผลงาน (peer review) ก่อนที่จะเผยแพร่แก่ผู้อ่านในวงกว้าง ผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่ตีพิมพ์เป็นบทความในวารสารวิชาการ หรือในรูปของหนังสือ ในแวดวง “การตีพิมพ์ STM” ย่อมาจากการตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และการแพทย์ (Science, Technology, and Medicine)
ในสาขาวิชาที่มั่นคงแล้วส่วนใหญ่จะมีวารสารวิชาการและแหล่งตีพิมพ์เป็นของตนเอง แต่ก็มีวารสารวิชาการหลายเล่มที่เป็นสหสาขาวิชาที่ตีพิมพ์บทความวิชาการหลาย สาขาหลักและสาขารองในเล่มเดียวกัน ประเภทของวิชาการที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ทั้งที่เป็นงานวิจัยหรือที่ เป็นความรู้เพื่อเผยแพร่ก็ยังมีความผันแปรหลากหลายระหว่างสาขาด้วยเช่นกัน
การตีพิมพ์งานทางวิชาการในขณะนี้ส่วนมากกำลังอยู่ในระยะของช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งเริ่มมาจากการตีพิมพ์ในรูปอีเล็กทรอนิกส์ แบบจำลองทางธุรกิจการตีพิมพ์มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะรูปแบบทางอีเล็กทรอนิกส์ นับตั้งแต่ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2535- พ.ศ. 2539 ที่เริ่มมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของ ทรัพยากรข้อมูลข่าวสารอีเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะวารสารวิชาการซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ปัจจุบันมีแนวโน้มหลักเกิดขึ้นใหม่โดยเฉพาะวารสารวิชาการที่มีชือเสียงหลาย เล่มที่พัฒนาเป็น ระบบเปิด (open access) ระบบดังกล่าวนี้เปิดมี 2 รูปแบบได้แก่: การตีพิมพ์ระบบเปิดที่บทความบางส่วนหรือเกือบทั้งหมดยอมให้ผู่อ่านเข้าสืบ ค้นได้นับตั้งแต่วันตีพิมพ์ กับ ระบบเข้ากรุอัตโนมัติ (self-archiving) ที่ยอมให้ผู้เขียนบทความสำเนาบทความของตนเองนำขึ้นเผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่าทางเว็บไซต์

ทุนวิจัย

เงินทุนที่ใช้ในการทำวิจัยเกือบส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งสำคัญ 2 แหล่งได้แก่ รัฐบาล (ส่วนใหญ่ผ่านมหาวิทยาลัย และในบางกรณีผ่านทางกองทัพ) และองค์การธุรกิจ (ผ่านหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของบริษัท) มีนักวิจัยระดับอาวุโสหลายคนที่ใช้เวลาของการวิจัยไม่น้อยไปในการเขียนข้อ เสนอขอรับทุนวิจัย เงินทุนวิจัยเหล่านี้ไม่เพียงเป็นการช่วยสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายในงานวิจัย เท่านั้น แต่ยังถือเป็นเกียรติภูมิของผู้วิจัยอีกด้วยหากได้รับเงินทุนมาจากแหล่งทุน ที่มีชื่อเสียง ตำแหน่งทางวิชาการบางตำแหน่งของสถาบันบางแห่งถือเป็นเงื่อนไขด้วยว่าจะต้อง เป็นผู้เคยได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนบางแห่ง เช่น สถาบันสุขภาพแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา เงินทุนวิจัยรัชดาภิเศกสมโภช หรือทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสภาวิจัยแห่งชาติของประเทศไทยเป็นต้น

ศัพทมูลวิทยา

คำว่า “research” มาจากภาษาฝรั่งเศส recherche, ที่มาจากคำ rechercher, หมายถึงการค้นหาอย่างใกล้ชิด ซึ่งคำว่า "chercher" หมายถึง "ค้นหา"; ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า 'สำรวจอย่างถี่ถ้วน'
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำ “วิจัย” อย่างสั้น ๆ ว่าหมายถึงการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Structure of Research, Trochim, W.M.K, (2006). Research Methods Knowledge Base.

แหล่งข้อมูลอื่น

สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด "จรรยาบรรณนักวิจัย"

SC Internet
MU Internet
14 กันยายน -428
About the Library
  Vision - Mission
Library History
Organization / Staff List
Library Rules
Location / Map
Library Photos
Library Activity Reports
Resource & Service Statistics
Search Catalogs
  Mahidol Library Catalog
Mahidol Library Codes
Self Renewal of Books
Thailand Union Catalog

Electronic Resources
  E-Databases
E-Journals
E-Books
E-Theses
E-Newspapers
E-Magazines / Newsletters
Research Publications
Search Guides / Tutorials

Library Resources
  Print Journals
Book Series
Thai Journals
Mahidol Theses
Books on CD
Audio-visual Media

Library Activities
  Photo Albums
What's News (Arhives)
Library Brochures

Other Information
  Mahidol Library Open Hours
LC & NLM Classifications
List of Bookstores
How to apply ISBN / ISSN
Journal Quality Evaluation
Journal Impact Factors
Citation Styles
Publications & Univ. Ranking
Bioresources in Thailand

Other Links
  List of Thai Libraries
Information & Learning Centers
Search Engines
จรรยาบรรณนักวิจัย
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 ได้กำหนดจรรยาบรรณ นักวิจัยขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวหลักเกณฑ์ควรประพฤติ ของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ โดยให้มีลักษณะ เป็นข้อพึงสังวรณ์คุณธรรม และจริยธรรม ในการทำงานวิจัย ของนักวิจัยไทย ดังนี้
"นักวิจัย" หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธี อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าว จึงครอบคลุมทั้งแนวความคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล
"จรรยาบรรณ" หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาอาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วยในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิด กับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบ ในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้ หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการวางแผนและกำหนดนโยบาย ในการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในประเทศ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของนักวิจัย ในเรื่องที่จะศึกษา และขึ้นอยู่กับคุณธรรม จริยธรรม ของนักวิจัย ในการทำงานวิจัยด้วย ผลงานวิจัยที่ด้อยคุณภาพ ด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากเผยแพร่ออกไป อาจเป็นผลเสีย ต่อวงวิชาการ และประเทศชาติได้
ด้วยเหตุนี้ สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด "จรรยาบรรณนักวิจัย" ไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการ ดังนี้ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ในทางวิชาการ และการจัดการ
นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรง ต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึง พันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงาน ที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย อย่างเพียงพอ และมีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต
นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการ จนละเลยและขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตน หรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปในทางมิชอบ 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล และขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
นักวิจัยพึงมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ



คเวสนา ปรมา วิช.ชา
การวิจัยนำมาซึ่งยอดแห่งความรู้

[ คณะวิทยาศาสตร์ ][ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ] ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารสนเทศ

Thailand Web Stat http://stang.sc.mahidol.ac.th - ปรับปรุงครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2551
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล